แนะนำระบบผ่อดีดี
ระบบผ่อดีดี
ระบบดิจิทัลเฝ้าระวังสุขภาพคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติ และสาธารณภัย เครื่องมือที่สามารถตรวจจับเหตุผิดปกติสุขภาพหนึ่งเดียวได้อย่างรวดเร็ว (Early Detection) โดยอาศัยสมาร์ทโฟนในการรายงาน ประมวลผล และแจ้งข่าวสารอัตโนมัติแบบเรียลไทม์
- คน
- สัตว์
- สิ่งแวดล้อม
- อาหารปลอดภัย
กลไกการทำงานของระบบผ่อดีดี
1. ผู้แจ้งเหตุจากชุมชน (ประชาชนทั่วไป)
ระบบผ่อดีดี เป็นระบบเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพหนึ่งเดียวในชุมชน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ อาศัยการรายงานเหตุผิดปกติสุขภาพหนึ่งเดียว คน สัตว์ สิ่งแวดล้อม และสาธารณภัย จากชาวบ้านในชุมชน ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่ ไลน์ PODD Report และ แอปพลิเคชันผ่อดีดี โดยผู้แจ้งเหตุจากชุมชน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. อาสาจัดตั้ง 2. ประชาชนทั่วไปแจ้งเหตุ
2. ระบบดิจิทัลอัตโนมัติ
ระบบจะมีการประมวลผลและแจ้งเตือนอัตโนมัติ จากนั้นจะทำการส่งสัญญาณเตือนไปยังหน่วยงาน/ส่วนงานที่รับผิดชอบผ่านไลน์กลุ่มที่มีการตั้งค่าไว้ผ่านหน่วยงาน เช่น ปศอ. ปศจ. สสอ. สสจ. ปภ. สำนักปลัด กองสวัสดิการสังคม กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กองการศึกษา และ รพ.สต.
3. แผนเตรียมพร้อมโรคระบาด และกระบวนงานตอบสนองต่อการแจ้งเหตุอื่นๆ
เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับการแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติจากแผงตรวจติดตามระบบผ่อดีดีแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามแผนของกระบวนงานจัดการเหตุ (กรรมการ) ที่ได้วางไว้ โดยระบุหน้าที่และข้อปฏิบัติที่ชัดเจนของทุกระดับ ตั้งแต่ชาวบ้าน อาสาสมัคร ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้นำชุมชน ไปจนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับตำบล และอำเภอ
เนื่องจากระบบการสื่อสารทำงานผ่านระบบดิจิทัลผ่อดีดี ทำให้ข้อมูลข่าวสารถูกถ่ายทอดส่งต่อถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทุกระดับชั้นในเวลาเดียวกัน แบบเรียลไทม์ทันทีทันใด หน่วยงานระดับจังหวัด ทั้งปศุสัตว์ สาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามการตั้งค่าของ อปท. โดยการตั้งค่าการแจ้งเตือนผ่านไลน์กลุ่ม จึงได้รับข้อมูลข่าวสารพร้อม ๆ กันไปด้วย ทำให้มีการเฝ้าติดตามสถานการณ์พร้อมจัดทีมสนับสนุนควบคุมเหตุได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
3 จัดการเพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
อปท.
อปท.
อปท.
ระบบดิจิทัลอัตโนมัติ
ระบบดิจิทัลอัตโนมัติประกอบไปด้วย 2 ส่วน
- ระบบดิจิทัลสำหรับแจ้งเหตุ ได้แก่ ไลน์ PODD Report และแอปฯ ผ่อดีดี
- แผงตรวจติดตามระบบงานผ่อดีดี สำหรับเจ้าหน้าที่ อปท. ใช้ในการตั้งค่าและบริหารจัดการเกี่ยวกับผู้แจ้งเหตุข้อมูล และการแจ้งเตือนในพื้นที่ของตนเอง
กระบวนงานจัดการเหตุ (กรรมการ)
อปท. แต่งตั้งกรรมการและออกแบบกระบวนงาน เพื่อตอบสนองต่อเหตุและกำกับดูแลการทำงานของอาสาผ่อดีดี ติดตามเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ ตลอดจนฟังก์ชันการทำงาน รวมถึงจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี แผนเตรียมความพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉินปัญหาสุขภาพหนึ่งเดียว และดำเนินการพัฒนาและเฝ้าระวังโรคเหตุผิดปกติที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพหนึ่งเดียวอย่างต่อเนื่องยั่งยืน ดังนี้
- กิจกรรมด้านสุขภาพคน เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้หวัดนก
- กิจกรรมด้านสุขภาพสัตว์ เช่น โรคห่าไก่ ไข้หวัดนก โรคพิษสุนัขบ้า โรคปากเท้าเปื่อย
- กิจกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เช่น อาหารปลอดภัย หมอกควัน ขยะ เหตุรำคาญ
- สาธารณภัย เช่น ไฟป่า ดินถล่ม จุดเสี่ยงภัย
การสร้างแรงจูงใจให้แจ้งเหตุ
อปท. ต้องมีกระบวนการสร้างแรงจูงใจให้แจ้งเหตุ
- จัดอบรมเพิ่มพูนความรู้อาสาสมัครจัดตั้งและอาสาสมัครเฉพาะกิจอย่างต่อเนื่อง
- เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการแจ้งเหตุ
- เวทีเชิดชูเกียรติอาสาสมัครแจ้งเหตุ
อาสาสมัครแจ้งเหตุ
ผู้แจ้งเหตุ
ผู้แจ้งเหตุ มีบทบาทในการเฝ้าระวังปัญหาในชุมชน โดยการแจ้งทันทีเมื่อพบเหตุผิดปกติ หรือรายงานไม่พบเหตุผิดปกติ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อยืนยันความปลอดภัยในชุมชน
การผูกสัมพันธ์กับผู้แจ้งเหตุ
- อาสาจัดตั้ง คือ อาสาสมัครที่ อปท. สร้างขึ้นมาผ่านการอบรม
- ประชาชนทั่วไปแจ้งเหตุ คือ ประชาชนทั่วไปที่สามารถรายงานอะไรก็ได้