• ตึก F ชั้น 4 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
  • poddcentre.cmu@gmail.com
พ.ศ. 2557
เริ่มก่อตั้งโครงการผ่อดีดี

ระบบเฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว - ผ่อดีดี ได้เริ่มต้นพัฒนา และถือกำเนิดอย่างเป็นทางการ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานในระยะที่หนึ่งและระยะที่สอง จาก SGTF -  Skoll Global Threaths Fund (ปัจจุบันคือ Ending Pandemics Foundation สหรัฐอเมริกา ) โดยใช้ชื่อ “โครงการผ่อดีดี”

พ.ศ. 2559
รางวัลหน่วยงานเครือข่ายที่มีผลงานเด่น
จากกรมควบคุมโรค
พ.ศ. 2560
รางวัล Bronze Award

ได้รับรางวัล Bronze Award หมวด Corporate Social Responsibility (CSR) จาก : สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE)

พ.ศ. 2560
29-30 พฤศจิกายน
ได้รับคัดเลือกผลงานด้านซอฟต์แวร์
และดิจิทัลคอนเทนต์

เข้าร่วมการแข่งขันรางวัล ASEAN ICT Awards 2017 ในนามตัวแทนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2560 ณ ประเทศกัมพูชา

พ.ศ. 2561
ได้รับเชิญให้นำเสนอผลงานใน PMAC

ได้รับพิจารณาใหเสนอในที่ประชุมวิชาการนานาชาติประจำปี รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ (PMAC)

พ.ศ. 2562
การแนะนำให้เป็นระบบที่แก้ปัญหา
Health Security ของประเทศ

G20 Health Report เสนอให้ใช้ผ่อดีดีป้องกันโรคอุบัติใหม่จากสัตว์
ที่จะเป็นภัย Pandemic คุกคามชาวโลก

พ.ศ. 2562
30 กรกฎาคม
กำเนิดเป็นศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการผ่อดีดี ได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนงานวิชาการภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้ชื่อ “ศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว” หรือ (PODD Centre – ศูนย์ผ่อดีดีกลาง) เพื่อเป็นศูนย์สารสนเทศบริหารจัดการความรู้และข้อมูลของระบบฯ สร้างองค์ความรู้ในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาด/ป้องกันการระบาดใหญ่ข้ามทวีป และป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและภัยทางสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาสุขภาพหนึ่งเดียว

พ.ศ. 2562
28 กันยายน
ผู้อำนวยการคนแรกของ
ศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.นายสัตวแพทย์เลิศรัก ศรีกิจการ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว
(PODD Centre – ศูนย์ผ่อดีดีกลาง)

พ.ศ. 2563
ได้รับรางวัล MIT Solve 2020

ประเภท Health Security & Pandemics Pre-spillover participatory community disease detection surveillance จาก : MIT Solve - Massachusetts Institute of Technology (MIT) 

พ.ศ. 2564
ได้รับรางวัล Grand Prize Winner
The Trinity Challenge

รางวัล Grand Prize Winner The Trinity Challenge ของ Trinity college  มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ร่วมกับ 42 องค์กรระดับโลก ด้านการตรวจจับโรคระบาด (Identify) จากผลงาน 340 ทีม 61 ประเทศทั่วโลก

พ.ศ. 2565
ได้รับรางวัลด้านการวิจัยและนวัตกรรม

รางวัลด้านการวิจัยและนวัตกรรม ในชื่อผลงาน " Participatory One Health Disease Detection (PODD) " ประเภทผลงานวิชาการที่มีผลกระทบสูงต่อสังคม ในงานมหกรรมวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2565 (CMU High Impact Research & Innovation Expo 2022) ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565

พ.ศ. 2566
ชนะเลิศรางวัล
Prime Minister’s Digital Award 2022

ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผลงาน ระบบดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน (PODD LTC) สาขา Digital Community of the year ผลงาน ระบบดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน (PODD LTC) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)

พ.ศ. 2567
แต่งตั้งผู้อำนวยการคนที่ 2
ของศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แต่งตั้ง
อาจารย์ ดร.สัตวแพทย์หญิง ณัฐกานต์  อวัยวานนท์
ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว

⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

วิสัยทัศน์

“ผ่อดีดีกลาง พันธมิตร อปท. ผู้นำดิจิทัลเฝ้าระวังของชุมชน”
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

พันธกิจ

1. บริการ ประกอบด้วย การใช้งานระบบ การเก็บรักษาข้อมูล การใช้ประโยชน์ข้อมูลของหน่วยงานการใช้ประโยชน์ข้อมูลของ อปท. และ หน่วยงานอื่น รวมถึงบริการพัฒนาระบบงาน และระบบดิจิทัล
2. การธำรงรักษา อัปเดตและอัปเกรดระบบดิจิทัล และธำรงรักษาเครือข่าย อปท. และชุมชนที่ใช้ระบบ
3. การวิจัย เพื่อพัฒนาการใช้งาน การใช้ประโยชน์ข้อมูล และวิจัยดำเนินการ (Action research) เพื่อสร้างความตั้งมั่นยั่งยืนในระบบเฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียวของชุมชน ทั้งในด้านระบบปฏิบัติงานของหน่วยงานและระบบดิจิทัล
4. การบริหารจัดการองค์กรเพื่อความยั่งยืน

This will close in 0 seconds